ข้อควรรู้ก่อนนำทรัพย์มาจำนอง

จำนองคืออะไร

จำนองคือ การเอาอสังหาริมทรัพย์มาวางไว้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้ และจะไถ่คืนตามระยะเวลาที่กำหนด เหมือนกับการจำนำ ที่นำทรัพย์สิน เช่น กระเป๋าแบรน์เนม แหวน นาฬิกา หรืออื่นๆ ไปวางเป็นหลักประกันในการกู้เงิน  แต่การจำนองต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน 

จำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองจะไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง(นายทุน) หากผู้จำนองไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชดใช้หนี้

สัญญาจำนองจะไม่มีอายุความ แต่จะมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้ หากไม่ชำระตามกำหนดจะคิดดอกเบี้ยเท่ากับการกู้เงิน (15% ต่อปี)

การทำสัญญาจำนอง

  1. สัญญาจำนองจะไม่มีการโอนทรัพย์สินแต่จะเป็นการนำโฉนดที่ดินไปจดทะเบียนเพื่อตราไวเป็นหลักประกัน  ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินเท่านั้น
  2. สัญญาจำนอง ต้องระบุว่าทำการกู้เงินเป็นยอดเงินจำนวนเท่าไหร่ และทรัพย์ที่นำมาจำนอง คืออะไร
  3. หากผู้จำนองผิดสัญญา ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนอง (นายทุน) จะไม่สามารถยึดทรัพย์ตามกฎหมายได้ทันที เพราะทรัพย์สินนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนอง(ลูกหนี้)  ต้องมีการฟ้องร้อง ให้ศาลบังคับให้ผู้จำนอง(ลูกหนี้) นำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดที่กองบังคับคดี เพื่อนำเงินไปชำระหนี้

 

ทรัพย์สินที่ใช้ในการจำนองได้

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่

  1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
  2. สังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้ คือ
    • เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่5 ตันขึ้นไป
    • แพ
    • สัตว์พาหนะ
    • สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น

เงื่อนไขการรับจำนอง

  • วงเงินอนุมัติ 30-50%ของราคาประเมินหรือราคาตลาด
  • ดอกเบี้ย 1.25%ต่อเดือน (15% ต่อปี)
  • เงินปากถุง 4-5% ของวงเงินที่อนุมัติ
  • หักดอกเบี้ยล่วงหน้า 3 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดิน

 

** ค่าปากถุง ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดิน ผู้ขายฝากเป็นผู้ชำระทั้งหมด **

Share

Articles - News Recommended