ไขข้อสงสัย สีตราครุฑบนโฉนด หมายความว่าอย่างไร รู้ไว้ไม่โดนหลอก

โฉนดที่ดิน
หลายๆ คนคงสงสัยว่า โฉนดที่ดิน นั้นมีแบบกี่ประเภทกันแน่ สีครุฑบนโฉนดสีต่างๆ หมายความว่าอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จัก โฉนดที่ดิน ให้มากขึ้นกัน

จริงๆ แล้วกระดาษที่เราเข้าใจว่าเป็นโฉนดกันอยู่นั้นมีชื่อเรียกว่า เอกสารสิทธิที่ดิน ไม่ใช่โฉนดที่ดินแบบที่เราเข้าใจกัน มีเพียงเอกสารสิทธิ์ประเภทเดียวเท่านั้นที่เรียกว่า “โฉนด” นั่นก็คือ เอกสารสิทธิที่ดินประเภท น.ส.4 เพียงประเภทเดียวที่นับว่าเป็นโฉนดที่ดิน

เอกสารสิทธิที่ดิน คือเอกสารหรือหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับที่ดิน ทั้งที่ทางราชการออกให้ หรือที่ราษฎรทำขึ้นเอง ตามประเภทการได้มาครอบครอง แล้วนำไปแจ้งต่อทางราชการ เพื่อเป็นเอกสารแสดงสิทธิของเจ้าของที่ดิน ในการครอบครอง การใช้ประโยชน์ รวมถึงการมีสิทธิในการใช้เป็นหลักประกันในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ พอจะแบ่งประเภทเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวได้ดังนี้

ประเภทของเอกสารสิทธิที่ดิน ที่ ซื้อ ขาย โอน จำนองได้

1.น.ส.3 (หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตราครุฑสีดำ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ)
เป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่ว ๆ ไป พื้นที่จะไม่มีระวางภาพถ่ายทางอากาศ มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอยๆ อาจใช้การอ้างอิงวัตถุหรือต้นไม้ในบริเวณนั้นเพื่อเขียนร่างแผนที่ ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือบางกรณีใช้ออกในพื้นที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ

โฉนดที่ดิน

2.น.ส.3 ก (หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตราครุฑสีเขียว มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ)
เป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อรับรองว่าเจ้าของสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆได้  โดยที่ดินจะมีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน และมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศไว้เป็นหลักแหล่ง (นายอำเภอท้องถิ่นเป็นผู้รับรอง) ถึงแม้จะมีขอบเขตชัดเจน แต่ น.ส.3 ก. ก็ยังไม่ใช่โฉนด ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ แต่สามารถซื้อขาย โอน จำนองธนาคารได้

โฉนด

3. น.ส.4 (โฉนดที่ดิน ตราครุฑสีแดง) สำหรับที่ดิน
หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือ อ.ช. 2 สำหรับกรรมสิทธิ์ของอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) โฉนดที่ดิน นับว่าเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด ได้รับการรับรองจากทางราชการอย่างเป็นทางการ เจ้าของที่มีชื่อหลังโฉนด สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากที่ดินนั้นได้อย่างเต็มที่ มีสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย สามารถซื้อขาย โอน จำนอง ค้ำประกันได้ เป็นเอกสารทางที่ดินที่ใช้กันเป็นหลัก

อ.ช. 2 เป็นเอกสารที่ออกโดยกรมที่ดินเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) มีลักษณะคล้ายกับโฉนดที่ดิน บนหนังสือฯ จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ได้แก่ เนื้อที่ของที่ดินที่อาคารชุดตั้งอยู่ ชั้นที่ห้องชุดตั้งอยู่ ขนาดพื้นที่ใช้สอยในห้องรวมพื้นที่ระเบียง แผนผังและรูปแบบของห้อง ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานและที่จอดรถ รวมไปถึงสิทธิต่อทรัพย์สินส่วนกลางและรายการเพิ่มเติมอื่น ๆ

โฉนดที่ดิน โฉนด

ประเภทของเอกสารที่ดิน ที่ ซื้อ ขาย โอน (ยกเว้นเป็นที่ดินที่ได้มา โดยการรับมรดก) จำนอง ไม่ได้

ให้ใช้เพื่อเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรมเท่านั้น

1.เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก.4-01
เป็นเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฎิรูปที่ดิน เป็น สิทธิในการทำเกษตรกรรม และการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เจ้าของมีเพียงสิทธิในการครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรเท่านั้น ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ออกโฉนดไม่ได้ ห้ามซื้อห้ามขาย ห้ามโอนขายสิทธิ์ให้คนอื่น ที่ไม่ใช่ทายาทของเจ้าของสิทธิ และหากทายาทได้รับเป็นมรดกตกทอดไปแล้วก็ต้องใช้ประโยชน์โดยการทำเกษตรกรรมเท่านั้น

โฉนด

2.เอกสารสิทธิ์ที่ดิน น.ส.2 (ใบจอง)
เป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้ประชาชน เพื่ออนุญาตให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว โดยเอกสารใบจองนี้จะเป็นเอกสารที่แสดงว่าราชการยินยอมให้เราครอบครอบที่ดินได้(เป็นการชั่วคราว) ตามประมวลกฎหมายการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชน โดยจะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินภายใน 6 เดือน หลังราชการให้ใบจอง และต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบจอง โดยประชาชาชนจะต้องทำประโยชน์ในที่ดินเกิน 75% ของที่ดินใบจองนี้จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ แต่สามารถตกทอดทางมรดกให้กับลูกหลานได้ ตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

โฉนด

3.ที่ดิน ภ.บ.ท.5 ใบชำระภาษีบำรุงท้องที่

ภ.บ.ท.5 คือ แบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่ ไม่ใช่เอกสารสิทธิแสดงการครอบครองที่ดิน ที่ดินลักษณะนี้มักเป็นที่ดินมือเปล่า ที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆทั้งสิ้น เป็นลักษณะของการอยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์สืบทอดกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น ที่ดินเป็นของรัฐโดยอาจมีการให้ใช้สิทธิอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ชั่วคราว อาจมีการขอเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่น หรือภาษีอื่นๆจากผู้อยู่อาศัยเป็นการตอบแทน

โฉนด

เอกสารสิทธิ์ที่ดิน อื่นๆ ที่จำหน่าย จ่าย โอน จำนอง ไม่ได้ เป็นเพียงเอกสารที่ราชการออกให้ เพื่อให้สิทธิ์ทำกินเท่านั้น ได้แก่

สทก. สิทธิทำกิน ออกให้โดยกรมป่าไม้

สค.1 เอกสารแจ้งการครอบครองที่ดิน

น.ค.3 ออกให้โดยกรมประชาสงเคราะห์ เป็นการจัดที่ดินในรูปแบบนิคมสหกรณ์ เพื่อการครองชีพ

น.ส.5 ใบไต่สวน หนังสือแสดง การสอบสวน เพื่อออกโฉนดที่ดินในอนาคต

ซึ่งเอกสารที่แตกต่างกัน เพราะการได้รับมา ที่มาของสิทธิ์ การจัดสรรที่ดิน ของรัฐ ให้ทำกิน กระบวนการ แตกต่างกันอยู่ในพื้นที่ปกครอง คนละภาคส่วน
เอกสารทุกอย่าง ล้วนจะระบุตรงหัวกระดาษว่าเป็นเอกสารอะไร ดังนั้น การรับซื้อ ขายที่ดิน การทำสัญญา การรับจำนอง การจะลงทุนในที่ดินนั้นๆ ต้องตรวจสอบเอกสาร กับกรมที่ดินทุกครั้ง เพื่อป้องกันการปลอมแปลงสิทธิ์ และเอกสารสิทธิ์ที่ลงทุนไปต้องทำการ จำหน่าย จ่าย โอน ได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @PropertyForCash
โทร : 083-067-7196

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://propertyforcash.co/ขายฝาก-จำนอง/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property for Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://propertyforcash.co/articles/

หรือ https://web.facebook.com/propertyforcashofficial/

แชร์บทความ

ข่าวสารบทความแนะนำ