Property For Cash มีเรื่องเล่า : พี่คะ ช่วยหนูหน่อยได้ไหม..?
ทรัพย์หลุด ใกล้โดนยึดแบบนี้ ไม่รู้จะทำยังไงดี ไม่รู้จะมีใครช่วยได้ไหม T^T
“เหตุผลที่ต้องอ่านสัญญาจำนอง-ขายฝากดีๆ
…อยากช่วยใจจะขาด แต่ทำไมถึงช่วยไม่ได้..”
สิ่งที่มักจะได้พบเจอกันสำหรับนายทุนรับจำนอง รับขายฝาก คือการที่เจ้าของทรัพย์ต้องการนำที่ดิน นำบ้าน นำอสังหาริมทรัพย์ของตนมา “เปลี่ยนมือ” ให้เราช่วยรับจำนอง-ขายฝากแทนนายทุนเดิม ด้วยเหตุที่ว่าใกล้ถึงครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว แต่ยังไม่สามารถหาเงินมาไถ่ทรัพย์คืนได้ ทำให้ใกล้จะตกอยู่ในสถานการณ์ถูก “ยึดทรัพย์” นั่นเอง
แต่.. จากเหตุการณ์ข้างต้นยังถือว่าค่อนข้างเบา เพราะยังมีเวลาหายใจหายคอ มีโอกาสหานายทุนมารับเปลี่ยนมือได้ แล้วสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดทำหรับเคสนี้คืออะไร เรามาดูเคสตัวอย่างที่ทางเรามักจะพบเจอบ่อยๆ จนทำให้อยากจะนำมาเตือนด้วยความหวังดีกัน
[ Property For Cash มีเรื่องเล่า – ตัวอย่างเคสจริง จำนอง-ขายฝาก ]
โดยปกติแล้ว การเปลี่ยนมือในวงการขายฝาก ถือเป็นเรื่องปกติที่เราพบเจอกันได้บ่อยๆ ซึ่งก็สามารถทำได้ในกรณีที่ทางเราประเมินแล้วว่ายอดหนี้ที่ติดอยู่กับนายทุนเก่านั้น “ต่ำกว่า” วงเงินที่เราสามารถรับจำนอง-ขายฝากได้ โดยสำหรับการจำนอง จะให้วงเงินไม่เกิน 30% ของราคาซื้อขาย ส่วนขายฝากนั้น จะให้วงเงินไม่เกิน 50% ของราคาซื้อขาย
แล้วกรณีไหนบ้างล่ะ..? ที่เราไม่สามารถช่วยได้ แม้อยากจะช่วยใจจะขาดก็ตาม
1. ยอดหนี้เก่า สูงเกินไป
เป็นกรณีที่พบเห็นได้มากที่สุด สำหรับการที่ยอดหนี้ในสัญญาเดิมนั้น สูงเกินกว่าวงเงินที่เราหรือนายทุนท่านอื่นรับจำนอง-ขายฝากได้ หรือต่อให้ยอดหนี้เก่าไม่สูงมากนัก แต่เมื่อหักลบกับค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน และค่าธรรมเนียมอื่นๆ แล้ว เจ้าของทรัพย์จะไม่เหลือเงินสดติดตัวเลย แต่กลับมีหนี้ที่ต้องชำระในวันไถ่ถอนเพิ่มขึ้น หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เงินสดที่จะได้รับในสัญญาใหม่ “ไม่เพียงพอ” ที่จะปิดยอดหนี้เก่า ทำให้ไม่รู้จะหาเงินจากที่ไหนมาอุดส่วนต่างตรงนี้ เพื่อไม่ให้ทรัพย์หลุดเพราะเลยกำหนดไถ่ถอนไป
2. สัญญาเดิมไม่ใช่สัญญาจำนอง หรือขายฝาก แต่เป็นสัญญาซื้อ-ขาย!!
สิ่งสำคัญที่สุด ที่ต้องขีดเส้นใต้ใหญ่ๆ ไฮไลท์หนาๆ เอาไว้ คือวันที่ทำสัญญา คุณจำเป็นต้องอ่านเอกสารให้ดีๆ ว่าสัญญาที่ทำกับสำนักงานที่ดินนั้น เป็นสัญญา “จำนอง” และ “ขายฝาก” จริงๆ หรือไม่ หากมีปัญหาอะไร สงสัยตรงไหน ให้ถามเจ้าที่หน้าที่สำนักงานที่ดินตรงๆ ก่อนที่จะเซ็นชื่อลงไป
เพราะมีหลายครั้งที่เราพบว่า เจ้าของทรัพย์เข้าใจว่าตนเองยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในบ้านของตนเองอยู่ อยากที่จะนำมาจำนอง-ขายฝาก ให้เราช่วยไถ่ถอนจากนายทุนเดิมให้ แต่แท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของนั้น ตกไปอยู่ในมือของนายทุนคนนั้นเรียบร้อยแล้ว เพราะสัญญาที่ทำไว้เป็น “สัญญาซื้อขาย” ไม่ใช่สัญญาจำนอง-ขายฝาก ที่เป็นการกู้เงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน แต่ตอนที่ทำสัญญากันถูกนายทุนหลอกล่อด้วยวิธีต่างๆ ว่า ให้ทำซื้อขายไปก่อนเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียม เพื่อได้ดอกเบี้ยที่ต่ำ แล้วค่อยมาซื้อคืนได้ในราคาเดิม โดยมีการทำสัญญาแยกเอาไว้กันเองต่างหาก ซึ่งมันไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด!!
หมายความว่ายังไง..? นั่นหมายความว่าทางกฎหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ของคุณได้ตกเป็นของนายทุนเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญากัน โดยที่คุณไม่สามารถใช้ข้อกฎหมายใดๆ เอาผิดหรือบังคับไถ่ถอนกลับคืนมาได้เลย ยกเว้นแต่ว่านายทุนเท่านั้นตกลงยินยอมทำตามข้อตกลงเดิมเท่านั้น
กรณีแบบนี้ แม้จำนวนเงินที่เจ้าของทรัพย์ต้องการขอจะยังไม่เกินยอดวงเงินที่เรากำหนดไว้ก็ตาม แต่ก็ยากที่จะรับเคสนี้เอาไว้ เพราะมีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ยังคาราคาซังไม่จบสิ้น ทำให้นายทุนหลายๆ ท่าน เลือกที่จะ “ไม่เสี่ยง” เสียเงิน เสียเวลา รับเคสในกรณีแบบนี้นั่นเอง
สุดท้ายนี้.. อยากจะฝากเอาไว้ให้เป็นข้อควรระวัง สำหรับการจำนอง-ขายฝาก ว่าควรอ่านสัญญาให้ดีๆ ใครที่ทำถูกต้องตามกระบวนการเรียบร้อยแล้ว ก็ให้วางแผนบริหารจัดการเงินให้ดีๆ เตรียมพร้อมสำหรับการไถ่ถอนให้ทันภายในกำหนด จะได้ไม่มานั่งคอตก มานั่งเครียดทีหลังเมื่อบ้านที่เรารัก ที่ดินที่เราหวง จะต้องตกเป็นของคนอื่นแบบแก้ไขอะไรไม่ได้เลย
——————————————————-
สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ทรัพย์หลุด จำนอง-ขายฝาก ติดต่อเราได้ทาง
Line: @PropertyForCash
โทร : 083-067-7196
หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://propertyforcash.co/ขายฝาก-จำนอง/
นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property for Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://propertyforcash.co/articles/
ข่าวสารบทความแนะนำ
ใครอยากเป็นเศรษฐี ? ฉันน่ะสิ ฉันน่ะสิ !! แน่นอนว่า ใครๆ ก็อยากมีเงินเยอะๆ อยากให้เงินของเราเติบโตงอกเงย ออกดอกออก […]
มีหนี้ต้องใช้ เป็นเรื่องที่ใครๆ ต่างก็รู้กัน แต่ถ้าหากว่าจ่ายหนี้ไม่ไหว จนทำให้จะโดนยึดทรัพย์ โดนยึดบ้าน คงไม่ใช่ […]
หลายๆ คนคงสงสัยว่า โฉนดที่ดิน นั้นมีแบบกี่ประเภทกันแน่ สีครุฑบนโฉนดสีต่างๆ หมายความว่าอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี […]
จะต่ออายุสัญญาขายฝากเพิ่มได้หรือไม่ ถ้าต่อสัญญาไม่ได้ต้องทำยังไง? เมื่อคุณคิดจะทำธุรกรรมขายฝาก มีเรื่องนึงที่คุณควรศึก […]
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเ […]
หลายๆ ครั้ง มักจะมีคำถามจากเจ้าของทรัพย์ จากเจ้าของที่ดินว่า ที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของหลายคน สามารถนำมาจำนองได้หรือไ […]
Refinance กับ Retention ต่างกันอย่างไร เมื่อมนุษย์เงินเดือนแบบเราตัดสินใจกู้ผ่อนคอนโดมาเป็นเวลา 3 ปี ส่วนใหญ่จะมีมาบอกให […]
3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน) ขึ้นชื่อว่า “การโกง” นั้น นับว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน […]
ทรัพย์หลุด ใกล้โดนยึดแบบนี้ ไม่รู้จะทำยังไงดี ไม่รู้จะมีใครช่วยได้ไหม T^T “เหตุผลที่ต้องอ่านสัญญาจำนอง-ขายฝากดีๆ […]
ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย […]
การลงทุนอสังหาริมทรัพย์หนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และเป็นที่นิยมในตลาดในหมู่เศรษฐีอสังหาฯ ไทย เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง […]
เรามักจะได้ยินคำว่า จำนอง กันอยู่บ่อยๆ โดยที่อาจจะไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร หรือว่ารู้แต่ก็ไม่มั่นใจ และก็สงสัยว่า […]