เอกสารอะไรบ้างที่ต้องตรวจสอบ เมื่ออยากเริ่มลงทุนขายฝาก
หากจะให้กล่าวถึงการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ ที่คุ้นเคยกันตามปกติแล้ว
ยังมี “ ขายฝาก ” ที่เป็นธุรกรรมอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ
ในการซื้อขายเปลี่ยนมืออสังหาริมทรัพย์ในบ้านเรามานานแล้ว
ซึ่งก็จะมีขั้นตอน เอกสารที่ใช้ หากใครอยากรู้หรือกำลังตัดสินใจที่จะทำธุรกรรมนี้
ต้องมาดูก่อนเลย ว่า ขายฝาก คืออะไร มีเอกสารอะไรที่ต้องเตรียมและตรวจสอบ
เพื่อให้เราดำเนินการ ขายฝาก ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ขายฝาก คืออะไร ?
ขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อขายฝากไปแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกไปยังผู้ซื้อฝาก
เพียงแต่มีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝาก อาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดกันไว้
ที่จริงแล้วทรัพย์สินทุกประเภทสามารถนำมาขายฝากได้หมด
แต่ในบ้านเราที่นิยมทำกันแพร่หลายที่สุด ได้แก่การขายฝากอสังหาริมทรัพย์
เอกสารที่ใช้ในการขายฝาก มีอะไรบ้าง ?
1. สำเนาโฉนด ของทรัพย์ที่จะรับขายฝาก
โฉนดที่ดินคือหนึ่งในเอกสารสิทธิ์รับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน
ที่สามารถซื้อขายโอนและทำนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ออกโดยกรมที่ดิน
ซึ่งโฉนดที่ดินจะเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สมบูรณ์ที่สุด
จะมีเลขที่โฉนด ที่ตั้ง ลักษณะ รายละเอียดของที่ดิน และประวัติผู้ถือกรรมสิทธิ์เอกสารสิทธิ์
โดยสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากที่ดินนั้นได้อย่างเต็มที่
มักจะมีตราครุฑสีแดงในใบโฉนด และเรียกกันอีกชื่อว่า (น.ส.4)
2. ระวางที่ดิน
ระวางที่ดิน คือ เอกสารแสดงตำแหน่งที่ดิน ที่ถือครองอยู่
เป็นเอกสารสำหรับการกำกับเลขที่ของที่ดิน โดยภายในเอกสารนี้จะบอกทุกเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน
ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างของที่ดินทั้งหมด, การระบุทำเลโดยรวมของที่ดิน,
การระบุจุดต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้บนที่ดิน ที่ดินติดคลอง ติดถนนสาธารณะฯ
ที่ดินไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยตรง เป็นต้น จะทำให้สามารถตีราคาได้ง่ายขึ้น
เพราะข้อมูลภายในใบระวางจะสามารถใช้ในเรื่องของการประเมินราคา
ที่จะช่วยทำให้คุณรู้ราคาของที่ดินตัวเองได้ชัดเจน
3. สารบบของที่ดิน
เอกสารนี้ สามารถขอคัดตรวจสอบได้ ที่สำนักงานที่ดิน ในสาขาที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
ใช้เพื่อตรวจสอบ ภาระผูกพันต่างๆ การถูกอายัด การยืนยันตัวตนของเจ้าของทรัพย์สิน
ประวัติการทำธุรกรรมของทรัพย์สิน เป็นต้น
4. สภาพทรัพย์สินจริง
หลังจากตรวจสอบเอกสารต่างๆครบแล้ว ต้องลงมาตรวจสอบสภาพหน้างานจริงทุกครั้ง
เพราะบางครั้ง อาจมีการถูกบุกรุก ผู้เช่า ผู้อาศัย อยู่ในที่ดิน เหล่านี้ไม่มีระบุไว้ในสารบบที่สำนักงานที่ดิน
เพื่อยืนยันข้อมูลของที่ดิน และภาระผูกพันต่างๆ ในที่ดิน
5. เอกสารการยืนยันตัวตนของเจ้าของทรัพย์สิน
ถ้าเจ้าของทรัพย์สินเป็นในนามบุคคล ใช้ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน
ตรวจสอบให้ตรงกับชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามหลังโฉนด
ถ้าเจ้าของทรัพย์สินเป็นนิติบุคคล ต้องมีเอกสาร หนังสือรับรองบริษัท
รายชื่อกรรมการ สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ของกรรมการ
ทั้งนี้ เน้นย้ำว่าผู้ขายฝากควรสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจน
ก่อนที่จะตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดิน และที่สำคัญการจะทำสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์
จะต้องทำสัญญา ณ กรมที่ดิน ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น
ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนเซ็นต์สัญญา
ถ้าอยากจะขายฝาก อสังหาริมทรัพย์ สามารถติดต่อสอบถามเราได้ ปรึกษาฟรี
นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property for Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%
ต้องการขายฝาก คลิกเลย https://propertyforcash.co/en/kaifak-mortgage/
——————————————————–
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
FB Inbox: m.me/propertyforcashofficial
Line: https://bit.ly/3mCCwRO
หรือโทร : 083-067-7196
ข่าวสารบทความแนะนำ
ใครอยากเป็นเศรษฐี ? ฉันน่ะสิ ฉันน่ะสิ !! แน่นอนว่า ใครๆ ก็อยากมีเงินเยอะๆ อยากให้เงินของเราเติบโตงอกเงย ออกดอกออก […]
มีหนี้ต้องใช้ เป็นเรื่องที่ใครๆ ต่างก็รู้กัน แต่ถ้าหากว่าจ่ายหนี้ไม่ไหว จนทำให้จะโดนยึดทรัพย์ โดนยึดบ้าน คงไม่ใช่ […]
หลายๆ คนคงสงสัยว่า โฉนดที่ดิน นั้นมีแบบกี่ประเภทกันแน่ สีครุฑบนโฉนดสีต่างๆ หมายความว่าอะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี […]
จะต่ออายุสัญญาขายฝากเพิ่มได้หรือไม่ ถ้าต่อสัญญาไม่ได้ต้องทำยังไง? เมื่อคุณคิดจะทำธุรกรรมขายฝาก มีเรื่องนึงที่คุณควรศึก […]
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ การมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเ […]
หลายๆ ครั้ง มักจะมีคำถามจากเจ้าของทรัพย์ จากเจ้าของที่ดินว่า ที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของหลายคน สามารถนำมาจำนองได้หรือไ […]
Refinance กับ Retention ต่างกันอย่างไร เมื่อมนุษย์เงินเดือนแบบเราตัดสินใจกู้ผ่อนคอนโดมาเป็นเวลา 3 ปี ส่วนใหญ่จะมีมาบอกให […]
3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน) ขึ้นชื่อว่า “การโกง” นั้น นับว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน […]
ทรัพย์หลุด ใกล้โดนยึดแบบนี้ ไม่รู้จะทำยังไงดี ไม่รู้จะมีใครช่วยได้ไหม T^T “เหตุผลที่ต้องอ่านสัญญาจำนอง-ขายฝากดีๆ […]
ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย […]
การลงทุนอสังหาริมทรัพย์หนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และเป็นที่นิยมในตลาดในหมู่เศรษฐีอสังหาฯ ไทย เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง […]
เรามักจะได้ยินคำว่า จำนอง กันอยู่บ่อยๆ โดยที่อาจจะไม่รู้ว่ามันหมายถึงอะไร หรือว่ารู้แต่ก็ไม่มั่นใจ และก็สงสัยว่า […]