การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร ?

ขายฝาก vs ฝากขาย
 

ขายฝาก VS ฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร ?

หลายๆคนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า ขายฝาก vs ฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร
แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า

ขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน  กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที

ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สินที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว

 

เปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย

ขายฝาก vs ฝากขาย

ธุรกรรม

ขายฝาก : การขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ หากครบสัญญาหรือไถ่ถอนก่อนครบกำหนดก็ได้
ฝากขาย : เป็นการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้บุคคลใด ๆบุคคลหนึ่ง (นายหน้า)  เป็นผู้ขายหรือกระทำการขายทรัพย์สินแทน และเจ้าของทรัพย์ ทำการชำระค่าตอบแทนให้กับนายหน้า

ขายฝาก vs ฝากขาย

กรรมสิทธิ์

ขายฝาก : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก(นายทุน) ทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน
ฝากขาย : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์ จนกว่าจะมีการเสนอขาย ทำสัญญาเป็นหนังสือ และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน

ขายฝาก vs ฝากขาย


สิทธิไถ่คืน

ฝากขาย : ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนจากผู้รับซื้อฝาก (นายทุน) ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาขายฝาก หรือ ตามกำหนดระยะเวลาที่ขยายออกไปตามที่ตกลง หรือที่กฎหมายกำหนด
ฝากขาย : ไม่มีสิทธิ์ไถ่คืน

ขายฝาก vs ฝากขาย


ค่าตอบแทน

ฝากขาย : ผู้รับซื้อฝาก(นายทุน) จะได้ดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน ตามอัตราที่สัญญาตกลงไว้ในสัญญาขายฝากแต่สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปีหรือ 1.25% ต่อเดือน
ฝากขาย : ตัวแทน/นายหน้าจะได้รับค่าตอบแทนหรือค่านายหน้า ในการขายให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน



สิทธิในการครอบครอง

ฝากขาย : ผู้ขายฝากยังมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่นำไปขายฝากได้จนถึงวันไถ่ถอน แต่สิทธิครอบครองจะหมดไป หากผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สินในเวลาที่กำหนดในสัญญา
ฝากขาย : สิทธิยังเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน จนกว่าจะมีการขาย โอนทรัพย์สินนั้นไปได้จริง

 

*** ทรัพย์ที่จะนำมาขายฝากได้ คุณต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นและต้องปลอดภาระหนี้สิน

ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
นายเอ มีคอนโด 1 ห้อง แต่คอนโดนี้ ยังผ่อนธนาคารอยู่ เพราะฉะนั้น นายเอ ไม่สามารถนำคอนโดห้องนี้มาขายฝากได้เพราะคอนโดนี้ ยังไม่ปลอดภาระหนี้ คือยังติดธนาคารอยู่ ธนาคารคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่นายเอ สามารถนำทรัพย์นี้ไปฝากขายกับนายหน้าหรือตัวแทนได้แม้ยังไม่ปลอดภาระหนี้

สรุป ง่ายๆ คือ การขายฝาก คือการนำทรัพย์สินมาขายฝากกับนายทุน (คล้ายๆ การจำนำ) ผู้ขายฝากจะได้รับเงินก้อนจากนายทุนไปใช้สอยเพื่อหมุนเวียนธุรกิจหรือใช้หนี้สิน แต่ผู้ขายฝากต้องชำระดอกเบี้ย หรือค่าตอบแทนให้กับนายทุนทุกเดือนตามอัตราที่กำหนดในสัญญาขายฝาก ส่วนฝากขายเป็นการแต่งตั้งนายหน้าให้มาขายทรัพย์สินแทนและผู้ขายฝากจะเสียค่าตอบแทนหรือค่านายหน้าให้กับ ตัวแทนหรือนายหน้าก็ต่อเมื่อ นายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินได้แล้วเท่านั้น

ดังนั้นการขายฝากจึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้เงินในระยะสั้น แต่ไม่อยากเสียทรัพย์สินนั้นๆ ไป เช่น ต้องการนำเงินไปหมุนธุรกิจก่อนหรือ หรือต้องใช้เงินด่วน เพราะหากไปกู้ธนาคารอาจจะต้องใช้เวลานาน และยิ่งเจ้าของทรัพย์ไม่มีเครดิต ก็จะไม่สามารถนำทรัพย์สินไปวางค้ำประกันกู้ธนาคารได้

ส่วนการฝากขายนั้น เหมาะกับผู้ที่ไม่ได้ต้องการถือครองทรัพย์สินนั้นแล้ว และต้องการใช้เงิน เรียกว่า ต้องการปลอดภาระนั่นเอง

การจะตัดสินใจนำทรัพย์ไปขายฝากหรือฝากขาย เจ้าของทรัพย์ควรศึกษาเงื่อนไขของการทำธุรกรรมทั้งสองแบบให้ละเอียด เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด เพราะการขายฝากและการฝากขาย ต่างมีข้อดีและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน หากศึกษายังไม่ละเอียดรอบคอบ อาจส่งผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย

______________________________________________________________________

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://propertyforcash.co/articles/

หรือ https://web.facebook.com/propertyforcashofficial/

แชร์บทความ

ข่าวสารบทความแนะนำ