คำถามที่พบบ่อย

คำถามเกี่ยวกับ ขายฝากและจำนอง

คำถามที่พบบ่อย

ตอบ:

ค่าใช้จ่าย ณ วันทำสัญญา ขายฝาก/จำนอง (ผู้กู้เป็นผู้รับผิดชอบ)

• ขายฝาก กรณีบุคคลธรรมดา (ไทย)

1. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมขายฝาก (เทียบเท่าการขาย/โอน) 2% ของมูลค่าประเมิน หรือ ราคาขาย แล้วเเต่มูลค่าใดสูงกว่า

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ( คำนวณจาก ราคาประเมิน เป็นอัตราก้าวหน้า)

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณี ถือครองทรัพย์เป็นเวลาเกิน 5 ปี หรือ มีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ไม่ต้องเสีย)

4. ค่าอากรสแตมป์ตามวงเงินขายฝาก หากวงเงินขายฝากต่ำกว่าราคาประเมินให้คิดจากราคาประเมิน 200 บาท ต่อ 1 อากรสแตมป์ เศษของ 200 คิดเป็น 1 อากรสแตมป์ (หากต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในข้อ3 ไม่ต้องเสีย ค่าอากรสแตมป์)

• ขายฝาก นิติบุคคล(ไทย)

1. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมขายฝาก (เทียบเท่าการขาย/โอน) 2% ของมูลค่าประเมิน หรือ ราคาขาย แล้วเเต่มูลค่าใดสูงกว่า

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ( คำนวณจาก 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย คิดจากมูลค่าที่สูงกว่า )

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณี ถือครองทรัพย์เป็นเวลาเกิน 5 ปี ไม่ต้องเสีย)

4. ค่าอากรสแตมป์ตาม ราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือ ราคาซื้อขายจริง แล้วเเต่ราคาใดสูงกว่า 200 บาท ต่อ 1 อากรสแตมป์ เศษของ 200 คิดเป็น 1 อากรสแตมป์ (หากต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในข้อ3 ไม่ต้องเสีย ค่าอากรสแตมป์)

• จำนอง กรณีบุคคลธรรมดา(ไทย) และ นิติบุคคล(ไทย)

1. ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง 5บาท ต่อ แปลง

2. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง เเต่ไม่เกิน 200,000 บาท (หากวงเงินจำนองเกิน 20 ล้านบาทขึ้นไป จ่ายค่าธรรมเนียม 200,000บาท)

3. ค่าอากรสแตมป์ตามวงเงินจำนอง 2,000 บาท ต่อ 1 อากรสแตมป์ เศษของ 2,000 คิดเป็น 1 อากรสแตมป์ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (หากวงเงินจำนองเกิน 20 ล้านบาทขึ้นไป จ่ายค่าธรรมเนียม 10,000 บาท)

ค่าใช้จ่าย ณ วันไถ่ถอน ขายฝาก/จำนอง (ผู้กู้เป็นผู้รับผิดชอบ)

• ขายฝาก

1.ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บประเภทไม่มีทุนทรัพย์ 50 บาท ต่อ แปลง

2.ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย

2.1 กรณีบุคคลธรรมดาไทย คำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก

2.2 กรณีนิติบุคคลไทย คำนวณจาก 1% ของ ราคาวงเงินขายฝากรวมดอกเบี้ย หรือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก แล้วเเต่ราคาที่มากกว่า

3.ค่าอากรสแตมป์ 0.50% จาก ราคาวงเงินขายฝากรวมดอกเบี้ย หรือ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ใช้อยู่ในวันที่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก แล้วเเต่ราคาที่มากกว่า

• จำนอง
1.ค่าธรรมเนียมคำขอไถ่ถอนจดจำนอง 5บาท ต่อ แปลง

2.ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ 50 บาท ต่อ แปลง
*กรณีมอบอำนาจ ค่ามอบอำนาจ 20 บาท ต่อ คน

ตอบ: ค่าปากถุง หรือค่าดำเนินการ คือ ค่าธรรมเนียมในการกู้ หรือ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งจะชำระเพียงครั้งเดียว และไม่มีค่าธรรมเนียมอื่นใดเพิ่มเติมตลอดอายุสัญญา โดยทาง Property for Cash เราคิดในอัตราที่ 5% ของมูลค่าวงเงินขายฝากโดยต้องไม่น้อยกว่าอัตราขั้นต่ำที่ 32,000 บาท
ตอบ: อยู่ในระบบ เพราะ การทำจำนอง และการทำขายฝากนั้น ทาง Property for Cash ทำสัญญาที่สำนักงานที่ดิน โดยเจ้าพนักงานของสำนักงานที่ดินเป็นผู้ทำสัญญาให้เท่านั้น โดยมิได้ทำสัญญาแยกอื่นใด อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย คือ ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และการดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายทุกประการ
ตอบ: การจำนอง จะไม่ต้องต่อสัญญา เพราะตามกฎหมายสัญญาจำนองจะไม่กำหนดอายุสัญญา ถ้าผู้จำนองชำระดอกเบี้ยรายเดือนตามกำหนดในสัญญา สัญญาจะยังคงอยู่เรื่อยๆ และสามารถไถ่ถอนเมื่อใดก็ได้ ส่วนการไถ่ถอนจำนอง กรมที่ดินคิดค่าธรรมเนียมที่ 75 บาทต่อสัญญา

การขายฝาก จะกำหนดระยะเวลาโดยปกติ 1 ปี โดยก่อนครบกำหนดอายุสัญญา ผู้ขายฝากควรจะนัดไถ่ถอนหรือต่อสัญญากับผู้รับซื้อฝาก (ควรจะเผื่อเวลา เช่นก่อนครบกำหนดสัญญา 7-14 วันเป็นต้น) การต่อสัญญาขายฝาก ที่สำนักงานที่ดิน จะคิดค่าธรรมเนียมประมาณ 75 บาท และการไถ่ถอน ที่สำนักงานที่ดินคิดประมาณ 0.9% ของราคาประเมิน